วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 4 การกำหนดกลยุทธ์

กำหนดกลยุทธ์ 

               1. กลยุทธ์สร้างพันธมิตร
นำเอาจุดแข็งมาบวกกับอุปสรรคที่เป็นปัจจัยภายนอก แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อทำการสร้างพันธมิตร
ตัวอย่าง
   บริษัทสามารถเทเลคอมมีการร่วมทุนในการเเชร์ข้อมูลกับบริษัทดีเท  
2. กลยุทธ์พัฒนาภายใน
การพัฒนาภายในเพื่อไปหาโอกาสข้างหน้า โดยการนำ จุดอ่อนบวกเข้ากับโอกาส
ตัวอย่าง
 มีการจัดอบรมเเละให้ความรู้กับพนักงานในบริษัท

3.กลยุทธ์รุกไปข้างหน้า    
การมองที่จุดแข็งของเรา และจุดแข็งในเรื่องนั้นๆ มีโอกาสที่ดีในอนาคต เราจะต้องทำการรุก ซึ่งก็คือ  การรุกไปข้างหน้า  เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีและคุ้มค่ากว่า
ตัวอย่าง
  การกำหนดกลยุทธ์ในการที่จะพัฒนาบริษัทไปในทิศทางที่ดีในอนาคต

                4. กลยุทธ์ปรับเปลี่ยน
การปรับเปลี่ยนแนวคิด หรือบางสิ่งบางอย่างที่มันไม เกิดผล มีจุดอ่อน และมีอุปสรรคมาก
    ตัวอย่าง
  มีการกำหนดกลยุทธ์ เเนวทางในการปรับเปลี่ยเเนวทางหรือการบริหารงานของบริษัท
         

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 3 วิสัยทัศน์ 10 บริษัทที่เกี่ยวกับไอทีและวิสัยทัศน์ที่ชอบพร้อมเหตุผล

  วิสัยทัศน์ 10 บริษัทที่เกี่ยวกับไอทีและวิสัยทัศน์ที่ชอบพร้อมเหตุผล

1. Global Computer Network
วิสัยทัศน์ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร

 2. TOT
     วิสัยทัศน์ "มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแห่ง ชาติ ที่สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและสาธารณชนอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม"
3. CTC
     วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรของไทยที่เป็นผู้ นำทางด้านการให้บริการ IT Service Solution ในประเทศไทยโดยไม่ขึ้นกับตราผลิตภัณฑ์สินค้า และมุ่งเน้นในความสำเร็จของลูกค้า คุณภาพการบริการที่เป็นเลิศ ความเป็นหนึ่งเดียวของทีมงาน และความสามารถในระดับสากล
4.SAMART
  วิสัยทัศน์ “สามารถ” มุ่งมั่นนำเสนอสินค้าและบริการทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวไกล เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

5. Microsoft

 วิสัยทัศน์  เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์สำหรับทุกสำนักงาน และทุกบ้านที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นเครื่องมือ 

 6. svoa
     วิสัยทัศน์  พร้อมตอบสนองทุกความต้องการ ด้วยรูปแบบสินค้าและการบริการด้านไอทีที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคได้ทุกระดับตั้งแต่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล จนถึงระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับองค์กร ครบถ้วนทุกข้อมูลเรื่องไอทีพร้อมให้คำปรึกษา และออกแบบโซลูชั่นใหม่ ๆ อย่างมืออาชีพ



7. cyberdict
 วิสัยทัศน์ ไซเบอร์ดิก จะเป็นอันดับหนึ่งทางด้านการจัดหาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสำหรับสังคม: นัก เรียน ครู อาจารย์ และบุคคลในสายงานต่างๆ เป้าหมายคือการมอบคุณค่าที่เหนือกว่าของผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทางการศึกษาของลูกค้าของเรา
8.บริษัทคอมเชว่น
   วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำ ในด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีนำสมัย ด้วยการบริการที่เป็นเลิศ โดยการบริหารจัดการจากทีมงาน ที่มีประสิทธิภาพ

9.  Apple
วิสัยทัศน์ Apple อยากจะผลิตสุดยอดคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบหนังสือที่สามารถถือไปไหนมาไหน ได้ และสามารถเรียนวิธีการใช้งานได้ภายใน 20 นาที นอกจากนั้น เครื่องนี้ยังเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุได้ ทำให้ไม่ต้องไปต่อพ่วงสายให้เกะกะกับสิ่งอื่น และช่วยให้คุณติดต่อสื่อสารเข้ากับฐานข้อมูลและคอมพิวเตอร์ขนาดที่ใหญ่ขึ้น ไปอีกได้เลย”
10. บริษัท Microsoft
วิสัยทัศน์ เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์สำหรับทุกสำนักงาน และทุกบ้านที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นเครื่องมือ 



วิสัยทัศน์  TOT
     วิสัยทัศน์ "มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแห่ง ชาติ ที่สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและสาธารณชนอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม"

เหตุผลที่ชอบคือ วิสัยทัศน์นี้  เป็นวิสัยทัศน์ที่ดีเเละสามารถเข้าถึงเเล้ะเข้าใจได้อย่าง้ายดาย เเละฟังดูเเล้วมันหญิ่งใหญ่ดีค่ะ 















    
     
        









วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 2

              
     จากการทำ กิจกรรมในห้องเรียนและการวิเคราะห์ คิดว่าจุดอ่อนที่เป็นปัญหาใหญ่ของนักศึกษา IT คือ  ภาษาอังกฤษ  จึงได้คิด

โครงการ   IT ก้าวไกลสู่ความเป็นผู้นำใน อาเซียน




โครงการนี้จะสอนให้นักศึกษา IT เป็นผู้นำในด้านต่างๆ  เเละโครงการนี้จะเป็นโครงการผลัดดันให้เกิดเเรงบันดาลใจ ในการที่จะก้าวเป็นผุ้นำ ของนักศึกษา IT สู่อาเซียน
   
 

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 1 SWOT

SWOT

                                 

SWOT คือ ชื่อของทฤษฎีหนึ่งทางด้านการตลาด ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สภาพโดยทั่วไปขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน สำหรับการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

โดยทฤษฎี SWOT ไม่ใช่เป็นเพียงคำ คำเดียว หากแต่มันคือตัวย่อของคำหลายคำ นำมาผสมรวมกันเป็น 1 ทฤษฎี ซึ่งความจริงแล้วมันย่อมากจากคำที่มีความหมาย 4 คำ ดังต่อไปนี้

1. Strengths (S) : จุดแข็ง จุดเด่น ขององค์กร
2. Weaknesses (W) : จุดอ่อน ข้อเสียเปรียบขององค์กร
3. Opportunities (O) : โอกาสในการดำเนินงานตามแผนงาน
4. Threats (T) : อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินงาน



ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนิน งานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้า หมายในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร ในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้า หมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม



ประเด็นที่สำคัญของการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT
ในการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT จะ ถูกแบ่งเป็นสภาพแวดล้อมขององค์กร 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในองค์กร และ สภาพการณ์ภายนอกขององค์กร หรือ อาจแบ่งตามลำดับสภาพการณ์ได้ดังนี้

สภาพการณ์ภายในองค์กร ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร (Strengths) และ จุดอ่อน หรือ ข้อเสียเปรียบขององค์กร (Weakesses)
สภาพการณ์ภายนอกขององค์กร ได้แก่ โอกาสในการดำเนินงาน (Opportuniities) และ อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินงาน (Threats)



ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้ มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูล เพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจ สถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่า

ปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำ มาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
- จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจาก สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของ องค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับ มหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้

3. ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม
เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพ แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์ เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
3.1 สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (aggressive - stratagy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่
3.2 สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายใน หลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (defensive strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด
3.3 สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว (turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่าง ๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่เปิดให้
3.4 สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้น แทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือขยายขอบข่ายกิจการ (diversification strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่น ๆ แทน

       ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้ 

1. ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (result) ได้จริง

2. การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป

      ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis

  ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น
- การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง
- การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์
- การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น
- การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ
- การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่
- การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น
- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ

    ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น
- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์
- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS นั้น จะต้องวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ [/size]

1. BALK GROUD ของตัวผู้ประกอบการเองว่ามีประสบการณ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรในตัวของคุณเอง เช่น มีจุดเด่น ที่พูดคุย เป็นมิตรกับทุกคน หรือชอบทำงาน GRAPHIC ได้ดี และเด่นกว่าคนอื่น หรือ บุคคลิกดีสวยสะดุดตากว่าคนอื่น เป็นต้น

2. จุดเด่นจุดด้อยอันเกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง โดยผมจะวิเคราะห์ ให้ดูอีกสักหนึ่ง CASE เพิ่มเป็นกรณีศึกษา

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS) ตัวอย่างธุรกิจร้านงานด่วนในห้างสรรพสินค้า

  จุดเด่น จุดแข็ง

1. เป็นธุกิจที่ลงทุนไม่มากคืนทุนได้เร็ว
2. กำไร 300-1500% นับว่าสูงมาก
3. เรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป แต่ผู้ประกอบการจะต้องชอบการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ประเภทกราฟฟิก
4. จุดเด่นหลัก คือ ความเร็ว ลูกค้าสามารถรอรับได้เลย
5. ห้างสรรพสินค้ามีคนเดินมาก โอกาศได้งานมีสูง
6. เครื่องหนึ่งอย่างสามารถรับงานได้หลายประเภท ทำให้เกิดงาน ประยุกต์ หลากหลายขึ้น โดยลงทุนเท่าเดิม
7. มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ให้ใช้ควบคู่กับเครือของเรา

 จุดอ่อน
1. ปัจจุบันมีความจริงจังเรื่องโปรแกรม ลิขสิทธ์มากขึ้น การใช้โปแกรมดีๆ แต่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธ์ บางครั้งอาจเกิดปัญหาการถูกจับละเมิดได้ เช่น CORELDORAW, PHOTOSHOP,WINDOW และโปรแกรมแท้ยังมีราคาสูงอยู่
2. เปิดร้านเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จะต้องใช้กลยุทธมากขึ้น เช่น วิธีการโปรโมทร้านค้า,เว็บบอร์ด,โปรเตอร์ในลิฟท์,ใบปลิว เป็นต้น รอ 3-6 เดือน จะเริ่มมีลูกค้าประจำ ในช่วงเริ่มต้นต้องคิดหาวิธี ทำการตลาดเชิงรุก เข้าไปด้วย
3. ค่าเช่าสูง และต้องมีค่ามัดจำด้วย ทำให้ลงทุนมากขึ้น แก้ไขด้วยการ พูดคุยต่อรอง กับฝ่ายขายพื้นที่ หรือขอผ่อนผัน

 โอกาส

1. ไม่มีร้านค้าประเภทเดียวกันในห้างที่คุณจะตั้งอยู่ ร้านค้าคู่แข่งอยู่นอกห้าง ซึ่ง พฤติกรรมของคนในจังหวัดที่คุณอยู่นั้น คนชอบเดินเล่นในห้าง
2. ร้านค้าคู่แข่ง ไม่ได้บริหารงานด้วยตัวเจ้าของร้านเอง ร้านเก่า ทรุดโทรม ขาดความน่าเชื่อถือ จุดนี้ เราสามารถ แข่งขันได้ อย่างแน่นอน เป็นต้น
3. ราคาขายของร้านคู่แข่งสูงมาก และเจ้าของร้านไม่ค่อยรับแขก เพราะเปิดมานานแล้ว คิดว่ามีลูกค้าประจำ แต่ลูกค้าอาจหลุดมาร้านเราก็ได้
4. เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดทำให้ง่ายต่อการแบ่งปัน คุณภาพดีกว่าแน่นอน และต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าด้วยเช่นกัน

 อุปสรรค
1. เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่มาก อาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นภายหลังได้ ดังนั้นจึงต้องคิดให้ แตกต่างอยู่เสมอ
2. พื้นที่เช่าในห้างมีการแข่งขันสูง ทำให้หาพื้นที่สวยๆยากขึ้น หรือ อาจได้ในราคาสูงเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งงาน Business Logo

Business Logo


โลโก้ของร้านขายขนมไทย

เเรงบันดาลใจในการออกเเบบโลโก้นี้ขึ้นมาเพราะ  มีความใฝ่ฝันที่อยากจะเปิดร้านขายขนมไทย

ความหมาย  ชื่อร้าน  เสน่ห์จันทน์  เป็นชื่อของขนมไทยชนิดหนึ่งในขนมมงคล9อย่าง ใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆตามแต่โอกาสและความ เหมาะสม ความหมายของเลข 9 ที่คนไทยถือว่าเป็นเลขที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทุกๆเรื่อง ส่วนความหมายของขนมเสน่ห์จันทน์นั้นก็มีความหมายที่ดีคือต้นจันทร์ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีลูกผลสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีเหลืองเปล่งปลั่ง มีกลิ่นหอม ชวนให้สูดดม ดังนั้นคนโบราณ จึงได้นำมาประยุกต์ ทำขนม โดยปั้นให้เป็นลูกกลมสีเหลือง เหมือนผลของลูกจันทร์ และ ใส่ผลจันทร์ป่น เพื่อจะได้มีกลิ่นหอม เหมือนกับ ผลจันทร์ เรียกขนมนี้ว่า "ขนมเสน่ห์จันทร์" ใช้ชื่อว่า เสน่ห์จันทร์ เพื่อความเป็นสิริมงคล สื่อความหมายถึง เป็นที่รัก มีเสน่ห์ ไปไหนมีแต่คนรัก เช่นเดียวกับชื่อร้านที่ทำให้ลูกค้าชอบ เเละจะมีเเต่ลูกค้ารัก 

สัญลักษณ์ที่ใช้ คือ  ขนมเสน่ห์จัทน์  ซึ่งจะบ่งบอกถึงลักษณะของขนมเเละอีกในหนึ่งคือลูกจัทน์ที่จะส่งกลิ่นหอมซึ่งก็เปรียบกับร้านคือลูกจันทน์ที่ส่งกลิ่นหอมเพื่อที่จะเรียกลูกค้าให้เข้าร้านเราเยอะๆ

สีที่เลือกใช้ คือ    

 สีเหลือง ซึ่งสีเหลืองมีความหมายว่า:  ความทรงจำ, จินตนาการ, ความร่วมมือ, องค์กร หมู่คณะ, ความสุข, พลังงาน, มองโลกในแง่ดี,  กระตือรือร้น, อบอุ่น,  ความเข้าใจ, เฉียบแหลม,  อารมณ์ขัน, ความคิดสร้างสรรค์, เป็นต้นแบบ, ความหวัง,  มีชื่อเสียง 
 ซึ่งก็เช่นเดียวกับร้านของเรา  ที่อยากจะเป็นความทรงจำดีดีให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบเเละรักในขนมไทยเเละร้านของเรายังอยากจะสร้างจินตนาการที่ดีให้กับลูกค้าเพื่อเป็นเเรงบันดาลใจเพื่อเป็นพลังเเละจะทำให้ลูกค้าที่มาได้รับความอบอุ่นที่เปรียบเสมือนบ้าน เเละยังจะสร้างเสียงหัวเราะเเละอารมณ์ขันให้ลูกค้ามีความสุขกับการกินขนมของร้านเรา เเละในเเง่ของร้านเราที่จะหมายถึงความรักความสามัคคีที่มีให้กับเจ้านายเเละลูกน้องทำจะทำให้มีเเรงกระตุ้นเเละความกะตือรือร้นในการทำงานอีกด้วย 

 สีเหลือในด้านจิตวิทยา     สีเหลืองจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้กล้ามเนื้อมีกำลังและช่วยดึงดูดความสนใจ

สีเขียว ซึ่งมีความหมายว่ อุดมสมบูรณ์, การเกษตร, การเติบโต, อาหาร, ความหวัง, ต่ออายุ, หนุ่มสาว, มั่นคง, ทนทาน, สดชื่น, ธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, เงียบสงบ, สุขภาพ, การรักษา, โชคดี,สามัคคี, ใจกว้าง, ปลอดภัย, สนุกสนาน, สมดุล,มิตรภาพ  ซึ่งความหมายเหล่านี้ ทางร้านก็อยากจะมอบให้กับลูกค้าที่มากินขนมร้านของเรา  

ในด้านจิตวิทยา ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สีเขียวนี้ทำให้สบายตาและช่วยให้ทัศนวิสัยดีขึ้นเเละสีเขียวนี้ยังมีเเนวคิดที่สำคัญมาจากขนมไทยที่ใช้ใบตองห่อขนมเป็นส่วยใหญ่อีกด้วย

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่12


เลือกเเบบ Coaching style

คือ ผู้นำที่สอนงานลูกน้องจากสิ่งที่เขาเป็น แนะให้สามารถต่อยอดความคิด ปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพด้วยการสอนงานและเสนอแนะสิ่งที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสร้างลักษณะนิสัยการทำงานอย่างไม่ต้องคิดให้กับลูกน้อง เพราะงานทุกอย่างอยู่ในระบบตามที่สั่งแล้ว หากทำนอกเหนือ หรือต่างออกไป อาจไม่ตรงเป้าประสงค์ของเจ้านาย ด้วยระบบเจ้านายลูกน้องนี้เองที่สืบเนื่องมาจากอดีตทำให้ในปัจจุบัน เรายังพบกับคำว่า เจ้านาย ลูกน้อง ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เหล่านี้ล้วนสื่อว่า คำสั่งจากเจ้านาย ผู้บังคับให้ทำตามคำบัญชาทั้งสิ้นแต่ที่กล่าวมานี้ มิใช่ว่า Directive Style หรือการสั่งลูกน้องทำงานเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เราสามารถปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ บุคคล และรูปแบบการทำงานให้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงก็ได้ ผู้นำสามารถใช้รูปแบบDirective style เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยพิจารณา 3 ประเด็นหลักดังนี้

สถานการณ์ เป็นสถานการณ์วิกฤติ คับขัน หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ผู้นำจำเป็นต้องใช้ความรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการ หรือสั่งการเพื่อให้เกิดความชัดเจน และสัมฤทธิผลตามที่คาดหวัง

ลักษณะงาน ต้องเป็นลักษณะงานที่มีความชัดเจน ผิดพลาดไม่ได้หรือเป็นงานประเภทที่ต้องทำตามระเบียบข้อบังคับ เพราะหากกระทำผิดแผก แตกต่างอาจก่อให้เกิดปัญหา หรือผลกระทบตามมามากมาย

พนักงาน ที่ยังอ่อนประสบการณ์ และมีโอกาสที่จะใช้วิจารณญาณผิดพลาดคลาดเคลื่อน เป็นพนักงานที่มักก่อปัญหา หรือมักทำผิดพลาดอยู่บ่อยๆ

การสั่งการหรือใช้Directive Style โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทั้ง 3 ประการนี้แล้วจะควบคุมสถานการณ์ได้ดี ดำเนินงานได้ตามเป้าหมายและพนักงานก็ไม่ต้องทำงานผิดพลาด แถมได้โอกาสสะสมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงาน ก่อนที่จะได้รับมอบหมายงานในโอกาสต่อๆ ไป


วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 10

หลังจากที่ฟังพี่ทัศนีย์ รุ่นพี่ของเราแล้ว ท่านคิดว่ามีประเด็นกี่ด้านและ เป็นอย่างไรบ้าง หากว่าท่านจะประยุกต์ใช้กับการเป็นผู้ประกอบการควรจะทำอย่างไร

ได้รู้ถึงชีวิตการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน เเละการดำเนินชีวิต ในการทำงานว่ามีอุปสรรค มากน้อยเพียงใด ได้รู้ว่าการทำงานหากเรา ไม่ถูกกับหัวหน้างาน เเละเพื่อนร่วมงานจะทำให้เรามีปัญหามากน้อยเพียงใด
  เเละในการที่เราจะจัดทำธุรกิจของเราเองเราก็ควรที่จะมีความคิดที่จะริเริ่ม กล้าที่จะทำ เเละเราต้องสร้างสรร งานให้ออกมาดี เเละมีคุณภาพ ถึงจะเป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกับเรื่องที่พี่เค้าบอกว่า ถ้าเป็นผู้หญิงเเล้วคนอื่นจะมองว่าคุณภาพงานจะไม่เทียบเท่าผู้ชาย เเต่พี่เค้าก็ได้พิสูจ เเล้วว่า ศักยภาพของผู้หญิงก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่าผู้ชายเลย

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 9

กฎหมายมีความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในความคิดเห็นท่านอย่างไร


        ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ กฎหมายทางด้านเทคโนโลยีจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยในการมิให้ผู้ใดละเมินข้อมูลของกิจการเราได้ เนื่องจากมีกฎหมายรองรับ เเละมีการระบุโทษอย่าชักเจน เเละยังทำให้ลูกค้า มีความมั่นใจในองค์หรือกิจการของเรา  เเละในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จะมีกฎมายขึ้นมาเพื่อกำหนดเเนวทางเเละวิธีเเก้ปัญหา ในด้านของอาฌาญกรรม

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 8


เมื่อฟังพี่ถาวรแล้ว ท่านคิดว่าอย่างไร 

               หลังจากที่ฟังพี่ถาวรเเล้วได้รู้ถึงการใช้ชีวิตจริงนั้นหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิดไว้ 
            เเละในชีวิตการทำงานนั้นเมื่อเราเป็นลูกจ้างเราต้องอดทนกับความกดดันจากนายจ้างเเละงานที่เราทำ การเป็นเจ้าของธุรกิจก็ต้องมีความมาะเพียรพยายามที่จะบริหารธุระกิจของเราให้อยู่รอด จากที่ได้ฟังพี่เค้าพูดเเล้วจับใจความได้ว่า คนเราต้องมีความอดทน ความมานะ เเละความพยายามในทุกๆ เรื่องที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นเเง่
ของการทำงาน การเรียน เเละการใช้ชีวิตประจำวัน
             จากการได้ฟังพี่ถาวรเเล้วให้ข้อคิดในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมากเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะ ที่ทำให้ได้ข้อคิดดี ดี ในการใช้ชีวิต



วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 7

"ในอีก ๒ ปี จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ท่านคิดว่าผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้สำหรับการปรับตัวดังกล่าว"

ในปัจจุบันกระบวนการเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างเป็นระยะ ระบบ โดยอาศัยทรัพยากรและความรู้ต่าง ๆ การทดสอบและประเมินผลชิ้นงานหรือวิธีการสร้าง ทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพตรงตามความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ การเลือกใช้เทคโนโลยีควรเหมาะสมกับปริมาณการผลิต คุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งการใช้เทคโนโลยีอาจเป็นการใช้ทเคโนโลยีที่เราสร้างขึ้นเอง หรือ เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว โดยจะเน้นไปที่คุณธรรม และจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 6



การนำเทคโนโลยี มาใช้ในด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว

ด้านสุขภาพ
               ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคุญในเรื่องสุขภาพกันอย่างมาก เเละก็มีความสนใจในเรื่องของ IT มากด้วยเช่นกันเราจึงควรนำมาผสมผสานกันเพื่อที่จะได้ควบคู่กันไปได้เพื่อนรับมือในเรื่องของสุขภาพ เเละยุคโลกาพิวัติ ที่จะมีเเต่เทคโนโลยี เช่น

ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ
1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)
เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย
2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ

ด้านการท่องเที่ยว   
       ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตได้ย่อโลกเอาไว้ในมือเรา ด้วยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วมากขึ้น ผ่านเครื่องมือสื่อสารแบบพกพามีราคาถูกลง การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Smartphone, Tablet หรือ เทคโนโลยีอื่นๆ ที่รองรับการเชื่อมต่อในรูปแบบต่างๆ จึงทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่าย การใช้บริการค้นหาและบอกตำแหน่งของสถานที่ปลายทาง รวมถึงใช้นำทางเพื่อไปยังสถานที่นั้นๆ ก็เป็นเรื่องง่ายเช่นกัน เป็นการยกระดับให้กับการท่องเที่ยว ซึ่งผู้ประกอบการ สามารถติดตามและค้นหาพิกัดเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยวได้ด้วย ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย
   ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องง่าย แต่หากขาดการโปรโมทหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ข้อมูลนั้นถูกกลืนหายไปกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยปริยาย และนั่นก็หมายถึงโอกาสทางธุรกิจที่ปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงในกลุ่มของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ต้องพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดไม่ถึง ซึ่งผู้ประกอบการรายย่อย เริ่มมีการปรับตัวเพื่อการเตรียมพร้อมมากขึ้นเรื่อยๆ
    เทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่น้อยคนที่จะคิดค้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกใช้และพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทั้งในด้านของการนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงการเปิดรับความพึงพอใจของผู้บริโภค ถึงเวลาแล้วหรือยังคะ ที่เราจะปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี เพื่อธุรกิจที่สร้างสรรค์รองรับกับอนาคต




วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 5


นำ IT ไปประโยชน์ใช้เพื่อเป็นผู้ประกอบการด้านอย่างไร 

         ในปัจจุบันการทำธุรกิจมีการเเข่งขันทางการตลาดสูง เเละในปัจจุบันการจัดการระบบสารสนเทศได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความแข็งแกรงเชิงกลยุทธ์ โดยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ขององค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ความสนใจในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อให้การตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่า EIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดัน    ให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
        เพื่อให้การใช้งานของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเกิดประโยชน์ สูงสุด ดังนั้น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้


1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support)
การพัฒนาระบบ EIS ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธ์ภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment Focus)
เนื่องจากข้อมูล หรือสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้น EIS ที่ดี จะต้องมีการใช้ฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหลงข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad-based Computing Capabilities)
การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับมาดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use)
ผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS จะต้องเลือกรูปแบบการแสดงผลหรือการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งาน และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น การแสดงผลรูปกราฟ ภาษาที่ง่าย และการโต้ตอบที่รวดเร็ว
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)
การตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่น และต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EIS ให้มีศักยภาพสูง มีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ


ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
6. สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล




วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 4






การเป็นผู้ประกอบการ หรือ ผู้ทำมาหากิน อันไหนจะดีกว่ากัน

จากเรื่องที่ได้อ่าน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ทำมาหากิน ก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล เพราะทั้ง 2 อย่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้ ต้องมีการวางแผนและมีหลักการ หรือ ข้อบังคับในการประกอบอาชีพ แต่หากเรามีการนำเอาหลักการ ของคำว่าพอเพียงไปไช้ผสมแล้วละก็ จะทำให้ชีวิต ของเราไม่ต้องดิ้นรถมากยิ่งขึ้น
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


หาเราทำอะไรบนคำว่าเพียงและพอแล้ว ชีวิตเราก็จะอยู่อย่่างมีความสูข







ส่งงานครั้งที่3


คนเกินร้อย หัวใจก็เกินร้อย (เรื่องสั้น เรื่องจริง)

จากเรื่องที่อ่านแสดงไห้เห็นว่า คนเราถึงแม่จะเลือกเกิดไม่ได้ แต่ก็เรื่องที่จะทำได้ โดยที่ถึงเราจะเกิดมาไม่รวยไม่ได้มีทุกอย่างเพรียบพร้อมตั้งแต่เกิด แต่ทั้งนี้สิ่งต่างๆ พวกนี้กับสามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้เราจะไม่มีการศึกษามา แต่ถ้าหากมีความพยายาม สู้ชีวิต หรือ ดิ้นรนเพื่อให้ชีวิตของตัวเองดีขึ้น มันก็จะมีส่วนทำให้ชีวิตของเราดียิ่งขึ้นได้ด้วย แต่ทั้งนี้ การที่เราจะพยายามทำอะไรต่าง ต้องทำด้วยความซื่อสัตย์ และเข้าใจในการงานอาชีพ ถึงแม้ เราจะมีล้ม มีปัญหา หรือมีอะไรต่างๆ มาเป็น อุปสรรค ก็ต้องก้าวข้ามผ่านมันไปให้ได้ เพราะว่าโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอนเสมอไป ชีวิตของคุณมีตัวคุณเท่านั้นที่บังคับได้


วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ส่งงานครั้งที่ 2


ขั้นตอนที่ 8 คือการวางเเผนทางด้านการตลาด


ในการทำธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางเเผนทางการตลาด
เพราะ การวางเเผนการตลานั้น จะเป็นตัวกำหนดว่าธุรกิจของเราจะเป็นไปในทิศทางใด
เเละในการวางเเผนการตลาดนี้ เพื่อจะลดความเสี่่ยในการทำธุรกิจ เพราะในการวางเเผนเราควร
ที่จะมีเเผนทางการตลาด เพื่อรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน การวางแผนการตลาดที่ดี จะสามารถนำเอาจุดแข็งของธุรกิจ ไปช่วงชิงโอกาสที่เป็นไปได้ในอนาคต ทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และยังสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงอีกด้วย หากเราทำธุรกิจเเล้ว ขาดการวางเเผนเเล้ว เราอาจจะขาดทุนก็เป็นได้




วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

New Venture 1106441: ครั้งที่1



แผนเเม่บท ICT มีคำว่าผู้ประกอบการจำนวน 27 คำ


2.2 กรอบนโยบาย IT 2010 และแผนแม่บท ICT ฉบับท ที่ 1
ในการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ได้คำนึงถึงกรอบนโยบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.2544 - 2553 ของประเทศไทย หรือ IT 2010 ซึงคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยกรอบนโยบาย IT 2010 ได้กำหนดเป้าหมายสำคัญสามประการ คือ
1) เพิ่ม ขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ เพื่อยกกระดับประเทศไทย
ให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ (potential leaders) อันดับต้นๆ โดยใช้ดัชนีผลสัมฤทธิ X
ทางเทคโนโลยีของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เป็นเครื$องประเมินวัด
2) เพิ่ม จำนวนแรงงานความรู้ของประเทศไทยให้เป็นร้อยละ 30 ของแรงงานในประเทศทังD หมด
3) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเพิ่ม สัดส่วนของมูลค่าอุตสาหกรรมทีเกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้
เป็นพืนD ฐานให้มีมูลค่าถึงร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)